Last updated: 1 พ.ย. 2562 | 1350 จำนวนผู้เข้าชม |
4 ธนาคารรายใหญ่ เจาะตลาดการค้าจีน
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จีนได้มีนโยบายสนับสนุนค่าเงินหยวนสู่ลากล หรือที่เรียกว่า อาร์เอ็มบี อินเตอร์เนชั่นนอลไลเซชั่น เพื่อกระตุ้นให้ต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจในประเทศจีน สามารถระดมทุน และทำการซื้อขายค่าเงินหยวนได้มากยิ่งขึ้น โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ ฮ่องกง จนในปี พ.ศ. 2553 จีนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก และมีการส่งออกสินค้าเป็นอันดับที่ 1 ของโลก ทั้งนี้ธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (พีเพิลส์ แบงค์ ออฟ ไซนา – พีบีซี) ได้ทำข้อตกลงร่วมกันกับธนาคารแห่งประเทศไทย ในเรื่องการแลกเปลี่ยนเงินสกุลหยวนกับเงินบาท และมีการลงนามข้อตกลงกันในวันที่ 22 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และขยายโอกาสทางธุรกิจในประเทศจีนช่วยให้ธุรกิจไทยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศมากขึ้น
การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีนทำให้ธนาคารของประเทศไทย 4 บริษัทยักษ์ใหญ่เล็งเห็นช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงิน จึงได้ขยายสาขาและทำเรื่องเปิดตลาดในประเทศจีน โดยเริ่มจาก
- ธนาคารกรุงเทพ
ได้รับการอนุมัติให้ตั้งธนาคารในปี พ.ศ. 2551 นับได้ว่าเป็นธนาคารของประเทศไทยเจ้าแรกที่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้เทียบเท่ากับธนาคารท้องถิ่นของประเทศจีน และยังถือครองหุ้นเองทั้งหมด 100 % ปัจจุบันมีสาขาในประเทศจีนทั้งหมด 7 แห่ง
- ธนาคารกรุงไทย
เป็นธนาคารของประเทศไทยอันดับ 2 ที่บุกตลาดในประเทศจีน โดยเปิดสาขาอยู่ที่คุณหมิง มณฑลยูนนาน ให้บริการธุรกรรมทางการเงินทั้งในส่วนของค่าเงินดอลลาร์ เงินหยวน และเงินบาท อีกทั้งยังตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าอาร์ทรีเอเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เหล่านักลงทุน และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวจีน
- ธนาคารกสิกรไทย
มีการร่วมมือกับไชน่ายูเนี่ยน เพย์ ในการเปิดตลาดธุรกรรมทางการเงินในจีน ทำให้ผู้ใช้บัตรเครดิต และเดบิต ซียูพี สามารถใช้บริการผ่านตู้ เอทีเอ็ม และเครื่องรูดบัตรของกิสิกรไทยได้ ช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวชาวจีนในไทย ธนาคารกสิกรไทยนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งธนาคารของไทยที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีน มีบริการทางธุรกรรมครบวงจร และมีการเติบโตขยายสาขาในประเทศจีนอย่างรวดเร็ว
- ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารน้องใหม่ที่ทำการแจ้งเกิดในประเทศจีน โดยจุดประสงค์หลักจะโฟกัสไปที่กลุ่มธุรกิจที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาให้การบริการที่เกี่ยวข้องกับการเงิน และการลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือที่เรียกกันว่า ฟินเทค
ทั้งนี้ถึงแม้ว่าธนาคารของประเทศไทยทั้ง 4 บริษัทจะมีเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป แต่จุดประสงค์หลักคือ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่นักธุรกิจทั้งชาวจีน และชาวไทยในด้านธุรกรรมนิติบุคคล เพื่อทำให้การนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ อันตราการแลกซื้อขายค่าเงินหยวน และการชำระสินค้ามีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คุณสามารถอ่านรายละเอียดและวิธีการเกี่ยวกับธุรกรรมเงินหยวน เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการได้ตามลิงค์ที่แนบไว้ https://www.bot.or.th/Thai/FinancialMarkets/Documents/YuanBaht_version2017.pdf
หากสนใจในการทำธุรกิจซื้อขายกับประเทศจีน และต้องการผู้ช่วยในด้านการจัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าสินค้าจากจีน สามารถติดต่อมาทางเรา บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 ทางเรามีพนักงานค่อยให้ความช่วยเหลือคุณอยู่เสมอ
แหล่งอ้างอิง
Thai BIZ China.com, การทำธุรกรรมการเงินไทย-จีน, วันที่ .... จาก http://www.thaiembbeij.org/thaibizchina/th/start/financial-thai-china.php
Brand inside, [บทวิเคราะห์] ธนาคารจากไทยเปิดสาขาในจีน ไปจีนทำไม ไปแล้วได้อะไร?, วันที่ 20 กรกฎาคม 2018. จาก https://brandinside.asia/thai-banks-in-china/
The Standard, ธนาคารไทยไปตลาดจีน เพื่อโอกาสหรือความอยู่รอด?, วันที่ 4 ธันวาคม 2017. จาก https://thestandard.co/bank-of-thailand-to-chinese-market/
ผู้จักการ 360°, 3 แบงก์ไทยในจีน, วันที่ สิงหาคม 2548. จาก http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=36250
25 พ.ย. 2562
25 พ.ย. 2562
28 ต.ค. 2563