Last updated: 1 พ.ย. 2562 | 487 จำนวนผู้เข้าชม |
อยากนำเข้าสินค้าลิขสิทธ์ต้องทำยังไง
เป็นที่นิยมกันอย่างมากในเรื่องของการนำสินค้าจำพวกตุ๊กตา หรือเสื้อผ้าลายตัวการ์ตูนชื่อดัง จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาขาย และได้รับกระแสตอบรับจากลูกค้าจำนวนมาก เพราะเนื่องจากสินค้าค่อนข้างมีคุณภาพดี แถมยังมีต้นทุนที่ต่ำอีกด้วย จึงทำให้เหล่าพ่อค้าแม่ขายต่างให้ความสนใจ และอยากนำเข้าสินค้าเหล่านี้บ้าง แต่หารู้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าว หากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์จะทำให้ความมีความผิดทางกฎหมายทั้งทางเพ่ง และทางอาญาเลยได้ ด้วยความห่วงใยที่ต่อผู้ใช้บริการ ไทยฮัวโฟร์ยู จะพาคุณรู้จักกับสินค้า ลิขสิทธิ์ และการขออนุญาตทำการค้ากัน
ความหมายของลิขสิทธิ์ก็คือ การมีสิทธิเพียงผู้เดียวของเจ้าของ เกี่ยวกับงานที่ผู้นั้นได้ริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นมา โดยใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองเพื่อให้ได้ชิ้นงานออกมา โดยที่ไม่มีการล้อเลียนแบบงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง อายุการคุ้มครองจะเริ่มนับตั้งแต่จดทะเบียน จนไปถึงอีก 50 ปีให้หลังจากที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้เสียชีวิตลง จึงจะถือว่างานชิ้นนั้นเป็นของสาธารณชน ประเภทของงานลิขสิทธิ์ที่กฎหมายระบุบไว้ได้แบ่งออกเป็น
- งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
- งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
- งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
- งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
- งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก
- งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์
- งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
ถ้าหากคุณนำสินค้าเหล่านี้มาใช้เชิงพาณิชย์ โดยมิได้รับอนุญาต จะมีความผิดในมาตรา 69 และ มาตรา 70 โทษทางอาญาคือ คุณจะถูกปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท และถ้าหากทำเพื่อการค้าจะต้องโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี ปรับตั้งแต่ห้าหมื่นถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แถมต้องชดใช้ค่าเสียงหายให้ทางเจ้าของลิขสิทธิ์ตามที่เจราจาต่อรองซึ่งกันและกันอีกด้วย ตัวสินค้าจะถูกยึดและทำลายในภายหลัง ดังนั้นหากคุณไม่อยากเสียหายเยอะขนาดนี้ ควรทำเรื่องไปยังทางเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือบริษัทตัวแทน เพื่อทำการติดต่อขอใช้สินค้าเชิงพาณิชย์ และอาจมีการเสียค่าลิขสิทธิ์นิดหน่อย แต่รับรองได้ว่าคุณสามารถทำการค้าขายได้อย่างสะดวก ปลอดภัย สบายใจอย่างแน่นอน สามารถตรวจสอบสินค้าลิขสิทธิ์ได้ที่เว็บไซต์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา (ตามลิงค์ที่แนบไว้ http://patentsearch.ipthailand.go.th/DIP2013/simplesearch.php)
ถ้าคุณลูกค้าคนไหนได้รับอนุญาตแล้ว หรือต้องการสินค้าประเภทอื่น ๆ จากประเทศจีน และต้องการผู้ช่วยในด้านการจัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าสินค้าจากจีนไปส่งถึงมือคุณ สามารถติดต่อมาทางเรา บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 ทางเรามีพนักงานค่อยให้ความช่วยเหลือคุณอย่างมีคุณภาพในราคาที่เป็นการเอง
แหล่งอ้างอิง
ธรรมนิติ DHARMNITI, ลิขสิทธิ์กับผู้ประกอบการ, วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562. จาก https://www.dharmniti.co.th/ลิขสิทธิ์/
MGR ONLINE, เจาะพื้นที่สีเทา ล่อซื้อ "ของผิดลิขสิทธิ์" วิธีหากิน จับ-ปรับ นอกชั้นศาล!?, วันที่ 22 เมษายน 2562. จาก https://mgronline.com/live/detail/9620000039053
กรมทรัพย์สินทางปัญญา, ลิขสิทธิ์, วันที่ 14 กันยายน 2559. จาก https://www.ipthailand.go.th/th/copyright-001.html
25 พ.ย. 2562
28 ต.ค. 2563
25 พ.ย. 2562