กลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อีอีซี

Last updated: 2 พ.ย. 2562  |  289 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อีอีซี

กลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อีอีซี

            เมื่อวันที่ 20 – 25 ตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้นำคณะผู้บริหารเยือน GBA ที่กวางตุ้ง และฮ่องก่ง ทั้งนี้เพื่อเชิญชวนเหล่านักธุรกิจชาวจีนให้มาลงทุนที่ประเทศไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดิจิทัล และธุรกิจสตาร์ทอัพ

            ทั้งนี้รองนายกรัฐมนตรีและคณะได้ทำความข้อตกลงร่วมกันระหว่างโครงการอีอีซีของประเทศไทย และนโยบาลพัฒนาเส้นทางสายไหมใหม่บนพื้นที่จีบีเอของจีนให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน 3 ฉบับ ได้แก่

1.       การลงนามระหว่าง สกพอ.กับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง

2.       การลงนามระหว่างสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กับบริษัทหัวเว่ยในการพัฒนาประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลและ ICT สำหรับภูมิภาคอาเซียน

3.       การลงนามร่วมกันระหว่าง สกพอ.กับสมาพันธ์อุตสาหกรรมฮ่องกง (Federation of Hong Kong Industries) เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างอีอีซีกับฮ่องกงในการพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกันในอนาคต

            และได้ยื่นขอเสนอเพิ่มเติมต่อทางเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลกวางตุ้ง ในการก่อตั้งกลไกการร่วมมือกันในระดับรัฐมนตรี เพื่อติดตามความคืบหน้าที่เกิดขึ้นในการร่วมมือกันระหว่างจีบีเอกับอีอีซี

            ซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นจุดยุทธศาสต์ที่ได้เปรียบทางการค้าอย่างมากในแถบอาเซียนทั้งในด้านการผลิต และการส่งออก เพราะเนื่องจาก เป็นประเทศจุดศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับกลุ่มเศรษฐกิจในทวีปเอเชียกับทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมและศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของอนุภูมิภาค เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มประเทศ ซีเอลเอ็มวีที ที่จะมีบทบาททางเศรษฐกิจในปี 2020

            การหารือในครั้งนี้มีบริษัทในจีนให้ความสนใจในการลงทุนที่ประเทศไทยอย่างมาก อาทิ บริษัท ไพร์แม็กซ์ และบริษัท ทิมเพนซี ผู้นำเทคโนโลยีทางเสียงของไต้หวัน ได้ดสินใจมาลงทุนไทยหลังเปรียบเทียบการลงทุนในอีก 8 ประเทศ บริษัท ไมเดียกรุ๊ป สนใจที่ลงทุนในไทยแล้วและกำลังตัดสินใจลงทุนเพิ่มในอีอีซี เพื่อตั้งศูนย์วิจัยและนวัตกรรม และ นายเหรินเจิ้งเฟย ประธานและผู้ก่อตั้งบริษัทหัวเว่ย ได้หารือถึงเทคโนโลยีคลื่นความถี่ 5G การพัฒนาคนและสร้างบุคลากร โดยหัวเว่ยมีแผนที่จะเปิด Academy ในอีอีซีด้วยเช่นกัน

            หากการร่วมมือกันระหว่างอีอีซีและจีบีเอเป็นไปได้ด้วยดีก็จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนา และช่วยตอบโจทย์การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางการทำธุรกิจของผู้ประกอบการในไทยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้หากสนใจและติดต่อทางการค้ากับประเทศจีน สามารถให้เราช่วงติดต่อประสานงานได้ เพียงแค่คุณติดต่อมาหาเรา บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 ทางเรามีบริการติดต่อจัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าผลิตภัณฑ์สินค้าจากประเทศจีนนำส่งถึงคุณที่ประเทศไทย


 

แหล่งอ้างอิง

EEC, โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0, วันที่ 25 ตุลาคม 2019. จาก https://www.eeco.or.th/เกี่ยวกับองค์กร/ความเป็นมา

กรุงเทพธุรกิจ, สร้างกลไกเชื่อม 'อีอีซี-จีน' ดึงลงทุนดิจิทัล-สตาร์ทอัพ, วันที่ 28 ตุลาคม 2562. จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/852298

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้