ข้อควรรู้เกี่ยวกับการลดภาษีสินค้าจีน

Last updated: 2 พ.ย. 2562  |  426 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการลดภาษีสินค้าจีน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการลดภาษีสินค้าจีน

นับตั้งแต่ได้มีการรวมตัวกันของนานาประเทศในแทบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดตั้งเป็นกลุ่มอาเซียน เพื่อเป็นการพัฒนาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การค้า ระบบการศึกษา เทคโนโลยี และอื่น ๆ อีกมากมาย           ที่จะทำให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนเกิดการพัฒนาและเติบโตขึ้น ถือได้ว่ากลุ่มประเทศอาเซียนเป็นอีกหนึ่งระบบเศรษฐกิจที่มีการแลกเปลี่ยนการค้าที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก จึงทำให้หลายประเทศนอกเหนือจากอาเซียนหันมาให้ความสนใจ และอยากทำการค้าร่วมกับกลุ่มอาเซียน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือสาธารณรัฐประชาชนจีน

ซึ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นหนึ่งอย่างของการที่จีนเข้าร่วมการค้ากับประเทศในอาเซียนนั้นก็คือ ทำให้เกิดเขตการค้าเสรีขึ้นระหว่างประเทศในอาเซียนกับประเทศจีน กล่าวคือ ประเทศในอาเซียนสามารถแลกเปลี่ยนสินค้ากับทางจีนได้โดยมีการเรียกเก็บภาษีนำเข้า/ ส่งออกสินค้าในเปอร์เซ็นที่เรียกได้ว่าแทบจะเป็นศูนย์               เพื่อเอื้ออำนวยสิทธิประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศได้อย่างอิสระ และได้ประโยชน์แก่กันทั้ง 2 ฝ่าย

ทั้งนี้ในส่วนของการนำเข้า/ ส่งออกสินค้าระหว่างจีนกับไทยได้มีประกาศลดภาษีนำเข้าสินค้าทั่วไปทั้งหมด 7,150 กว่ารายการให้เป็น 0 เปอร์เซ็น สินค้าอ่อนไหวเหลือเพียง 0 – 5 เปอร์เซ็น และสินค้าอ่อนไหวสูงเหลือเพียง 50 เปอร์เซ็นเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นโอกาสดีของพ่อค้าแม่ขายที่จะนำสินค้าทั่วไป หรือสินค้าอื่น ๆ จากทางจีนมาขายในไทย เพราะคุณจะแทบไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าสินค้าเลย แต่อย่างไรก็ตามต้องมีหนังสือ ฟอร์ม อี ที่ออกโดยหน่วยงานของประเทศจีนเพื่อรับรองว่าสินค้าที่นำเข้ามาเป็นสินค้าที่ผลิตมาจากประเทศจีนนำหนังสือดังกล่าวยื่นรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีนำเข้าสินค้าได้เลย โดยที่สินค้าดังกล่าวต้องมีราคาไม่เกิน 200 ดอลลาร์สหรัฐ

หากคุณต้องการสั่งซื้อ และนำเข้าสินค้าจากจีน สามารถติดต่อ บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009

 

แหล่งอ้างอิง

กรมศุลการกร, ประกาศกรมศุลกากร เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน, วันที่ 30 ธันวาคม 2559

นางสาวอัมพะวัน ปฐมกุล กลุ่มงานภาษาจีนและภาษาอื่น สํานักภาษาต่างประเทศ, เขตการค้าเสรี (Free Trade Area – FTA).

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้