มาตรการ ไทยแลนด์พลัส

Last updated: 4 พ.ย. 2562  |  349 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มาตรการ ไทยแลนด์พลัส

มาตรการ ไทยแลนด์พลัส

            นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เผยข้อมูลว่ามาตรการ แพคจเกจ ไทยแลนด์ พลัส ของรัฐบาลได้กระแสตอบรับดีจากเหล่านักลงทุนต่างชาติอย่างมากมีกระแสตอบรับดี โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ได้จัดเตรียมพื้นที่ลงทุนไปได้แล้วกว่า 6,466 ไร่ และจะเน้นชักจูงนักลงทุนเป้าหมายเป็นชาวจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีเป็นหลัก

            มาตรการดังกล่าวใช้งบประมาณของปี 2563 ทั้งสิ้น 50 ล้านบาท เพื่อเอื้อยสิทธิประโยชน์ให้แก่นักลงทุน และผู้ประกอบการในด้านการขอลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นระยะเวลา 5 ปี สำหรับโครงการที่มีเงินลงทุนจริงอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2564 มีการสนับสนุนการฝึกอบรมแรงงาน โดยให้ผู้ประกอบการนำเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมที่เข้าข่ายเป็น แอดวานซ์ เทคโนโลยี ไปใช้ในการหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 250% ในระหว่างปี 2562 – 2563 และในกรณีเป็นโครงการลงทุนใหม่ หรือโครงการลงทุนเดิมที่ยังได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็สามารถนำไปยกเว้นภาษีเงินนิติบุคคลได้ถึง 2 เท่า เลยทีเดียว

            อีกทั้งรัฐบาลได้สนับสนุนการจ้างงานบุคลากรเพิ่มโดยมีมาตรการสนับสนุนการจ้างงานใหม่ที่เป็นบุคลากรทักษะสูง ผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายการจ้างงานใหม่ที่เป็นบุคลากรทักษะสูงไปหักค่าใช้จ่ายได้ 150% ระหว่างปี 2562-2563 อีกทั้งทางรัฐบาลได้มีการจัดหา และพัฒนาพื้นที่เฉพาะเพื่อรองรับการลงทุนที่สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนต่างชาติแต่ละประเทศเป็นการเฉพาะ โดยเป้าหมายหลักในการชักจูงครั้งนี้จะเน้นไปที่ผู้ประกอบการชาวจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี ให้มีการย้ายถิ่นฐานการลงทุนมายังประเทศไทย เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศและพื้นที่เป้าหมาย

            และนอกจากมาตรการแพจเกจ ไทยแลนด์ พลัส ทางรัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมยังดูแลกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ได้มีแผนการอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคขั้นตอนการของสินเชื้อให้กับกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี และธุรกิจสตร์อัพ โดยลดระยะเวลาการทำเรื่องและขั้นตอนลดลงจากปกติใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน เหลือเพียง 1 เดือนเท่านั้น อีกทั้งยังลดอัตรดอกเบี้ยต่ำลงเหลือเพียง 1% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาทต่อราย และมีระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี

            ต่อมาในส่วนของการพัฒนาเขตพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ก็มีความคืบหน้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ทั้งท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ลงนามแล้ว และคาดว่าอีก 2 โครงการที่อยู่ระหว่างการเปิดซอง คือ ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และเมืองการบินและขยายสนามบินอู่ตะเภา

            ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาคการลงทุนของประเทศไทยเริ่มมีการพัฒนาและเติบโตขึ้นอย่างเรื่อย ๆ ดังนั้นหากคุณมีแผนการสร้างธุรกิจเป็นของตนเองก็อย่ารอช้ารีบศึกษาการตลาด และให้เราเป็นผู้ช่วยของคุณในด้านการติดต่อประสานงาน จัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าผลิตภัณฑ์สินค้าจากประเทศจีนนำเข้ามายังประเทศไทยให้กับคุณ เพียงติดต่อมาที่ บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 เราจะช่วยทำให้ธุรกิจของคุณเป็นเรื่องที่ง่าย

 

แหล่งอ้างอิง

ไทยโพสต์, ไฟเขียวแพ็กเกจ 'ไทยแลนด์พลัส' ล่อใจนักลงทุนต่างชาติ, วันที่ 11 กันยายน 2562. จาก https://www.thaipost.net/main/detail/45486

ไทยโพสต์, สุริยะ อวดผลงานชักจูงต่างชาติลงทุนในไทยเพียบ, วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562. จาก https://www.thaipost.net/main/detail/49301

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้