จะทำการค้าต้องรู้จักพิกัดศุลกากร

Last updated: 4 พ.ย. 2562  |  513 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จะทำการค้าต้องรู้จักพิกัดศุลกากร

จะทำการค้าต้องรู้จักพิกัดศุลกากร

ขั้นตอนที่สำคัญในการที่จะเริ่มทำธุรกิจต่าง ๆ ก็คือ การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ เพื่อป้องกันการเสียเปรียบทางธุรกิจ ยิ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแล้วด้วยนั้น ก็ต้องยิ่งศึกษาให้มากเป็นพิเศษ เพราะไม่ใช่แค่คุณต้องรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการค้าของประเทศคู่ค้าของคุณแล้ว ยังจำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ หรือที่เรียกว่าพิกัดศุลกากร (HS CODE) อีกด้วยเพื่อสิทธิประโยชน์ของคุณ

พิกัดศุลกากรเกิดขึ้นโดย องค์การศุลกากรโลก ได้มีการสร้างรหัสตัวเลขขึ้นมาเพื่อให้ง่ายแก่การระบุสินค้าแต่ละประเภท สามารถนำไปใช้คำนวณภาษีสินค้าและใช้ในการทำฟอร์มลดหน่อยภาษี FTA ในสินค้าบางประเภท สาเหตุที่ต้องมีเพราะเนื่องจากในแต่ละประเทศมีวัตถุดิบในการผลิต และมีชื่อเรียกสินค้าแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ง่ายต่อการค้าระหว่างประเทศจึงได้สร้างพิกัดศุลกากรขึ้นมา

รหัสของพิกัดศุลกากรจะมีทั้งหมด 11 หลัก (xx.xx.xx.yy.zzz) โดย 6 ตัวแรกเป็นรหัสสินค้าที่องค์กรการศุลกากรโลกได้กำหนดให้เหมือนกันเป็นสากล 2 หลักถัดไปจะเป็นแสดงพิกัดฮาร์โมไนซ์อาเซียน และใน 3 หลักสุดท้ายจะถูกกำหนดขึ้นเองตามแต่ละประเทศ ส่วนของในไทยนั้นตามประกาศพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555 มีการจำแนกสินค้าออกเป็น 21 หมวด 97 ตอน ตามนี้  

หมวด 1 สัตว์มีชีวิต ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (ตอนที่ 1 - 5)

หมวด 2 ผลิตภัณฑ์จากพืช (ตอนที่ 6 -14)

หมวด 3 ไขมันและน้ำมันที่ได้จากสัตว์หรือพืช และผลิตภัณฑ์ที่แยกได้จากไขมันและน้ำมันดังกล่าวฯ (ตอนที่ 15)

หมวด 4 อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่ม สุรา และน้ำส้มสายชู ยาสูบ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้แทนยาสูบฯ (ตอนที่ 16 - 24)

หมวด 5 ผลิตภัณฑ์แร่ (ตอนที่ 25 - 27)

หมวด 6 ผลิตภัณฑ์ทางเคมี(ตอนที่ 28 - 38)

หมวด 7 ผลิตภัณฑ์ของพลาสติกและยาง (ตอนที่ 39 - 40)

หมวด 8 ผลิตภัณฑ์จากหนังและหนังเฟอร์ (ตอนที่ 41 - 43)

หมวด 9 ไม้และของทำด้วยไม้ (ตอนที่ 44 - 46)

หมวด 10 เหยื่อไม้และกระดาษ (ตอนที่ 47 - 49)

หมวด 11 สิ่งทอและของทำด้วยสิ่งทอ (ตอนที่ 50 - 63)

หมวด 12 ของสำเร็จรูป (ตอนที่ 64 - 67)

หมวด 13 หิน ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องแก้ว (ตอนที่ 68 - 70)

หมวด 14 ไข่มุก รัตนชาติ(ตอนที่ 71)

หมวด 15 โลหะสามัญและของทำด้วยโลหะสามัญ (ตอนที่ 72 - 83)

หมวด 16 เครื่องจักร เครื่องกล อุปกรรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 84 - 85)

หมวด 17 ยานบก ยานน้ำ อากาศยาน (ตอนที่ 86 - 89)

หมวด 18 อุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์ การแพทย์ เครื่องดนตรี นาฬิกา (ตอนที่ 90 - 92)

หมวด 19 อาวุธและกระสุน (ตอนที่ 93)

หมวด 20 ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด (ตอนที่ 94 - 96)

หมวด 21 ศิลปกรรม โบราณวัตถุ (ตอนที่ 97)

เนื่องจากปัจจุบันมีสินค้า และผลิตภัณฑ์ออกใหม่มากมาย เป็นการยากที่จะจำแนกประเภทสินค้าด้วยตาเปล่า เพื่อให้สามารถเช็คพิกัดศุลกากรได้อย่างถูกต้องและสะดวก ทางกรมศุลกากรได้มีเว็บไซต์เพื่อค้นหา โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมศุลกากรแล้วไปที่ ค้นหาพิกัด หรือที่ Tariff e-service และอีกหนึ่งช่องทางก็คือโหลดแอพลิเคชั่น HS Check ลงในมือถือ กรอกตัวเลขพิกัดศุลกากรลงไปเพื่อทำการจำแนกได้อย่างถูกต้อง

และเพื่อลดความวุ่นวายในการติดต่อ ดำเนินเรื่องเอกสาร และเช็ดพิกัดศุลกากรละก็ลองมาใช้บริการของทางเรา บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด  https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 ทางเรามีพนักงานให้ความช่วยเหลือไม่ใช่แค่เรื่องของกรมศุลกากรเท่านั้น แต่ยังช่วยในด้านการจัดหาสินค้า สั่งซื้อ และจัดส่งถึงมือคุณอยากรวดเร็วและสวัสดิภาพ  

 

 

แหล่งอ้างอิง

กรมศุลกากร, พิกัดศุลกากร, จาก http://www.ic.or.th/investmentwindow/images/file/cus/igtf.customs.pdf

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้