ถอดความกับการสัมมนา 7 ทศวรรษจีนใหม่ ก้าวต่อไปที่โลกเฝ้ามอง

Last updated: 4 พ.ย. 2562  |  293 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ถอดความกับการสัมมนา 7 ทศวรรษจีนใหม่ ก้าวต่อไปที่โลกเฝ้ามอง

ถอดความกับการสัมมนา 7 ทศวรรษจีนใหม่ ก้าวต่อไปที่โลกเฝ้ามอง

            เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมาทางสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน ร่วมกับ อสมท. จัดสัมมนา “7 ทศวรรษจีนใหม่ ก้าวต่อไปที่โลกเฝ้ามอง” ในหัวข้อ ‘เปิดมุมมอง ปรับความคิด ความร่วมมือ ไทย-จีน’ ที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ ภายในงานได้รับเกียรติผู้มากประสบการณ์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนอาทิ ดร.จื้อกัง หลี่ ประธานกรรมการ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ บมจ. ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ นายหล่วน จือเหวิน ที่ปรึกษากฎหมาย มณฑลกวางสี และนายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

            เมื่อมองย้อนกลับไปในปี 2518 ประชากรชาวจีนส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพียงคนละ 250 บาทต่อปีเท่านั้น ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายเร่งการพัฒนาประเทศใช้ระยะเวลาร่วม 70 ปี จนปัจจุบันรายได้เฉลี่ยของประชากรชาวจีนต่อหัวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 141,000 บาทต่อปี จีดีพี ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก อีกทั้งในช่วงไตรมาสที่ 2/2562 จีดีพี ของจีนเติบโตมากที่สุดของโลกอยู่ที่ 6.2% และทางการของจีนได้วางเป้าหมายไว้ในปี 2578 จีนจะเป็นประเทศทันสมัยในระบบสังคมนิยม

            นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาของประเทศจีนว่า “ที่สำคัญมีการกระจายอำนาจให้รัฐบาลท้องถิ่น ทำให้การพัฒนาไม่ได้รวมศูนย์กลางอยู่ที่กรุงปักกิ่งเพียงเมืองเดียว” อีกทั้งในส่วนของ นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ได้ให้ความเห็นว่า “จีนมีการเติบโตต่อเนื่องแซงประเทศตะวันตก อีกทั้งยังมีการลดความเลื่อมล้ำ ใช้ข้อมูลเพื่อเสริมเทคโนโลยี เพิ่มมูลค่าสินค้าและบริษัท ทำให้จีนเติบโตอย่างก้าวกระโดด”

            จีนได้กลายเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีสมัยใหม่  ทั้งด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การชำระเงินออนไลน์ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ปัญญาประดิษฐ์ และบล็อกเชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจในอนาคต กระทรวงพาณิชย์ได้บอกอีกว่า ประเทศจีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ครองสัดส่วนการค้าอยู่ที่ 16% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย และประเทศจีนเองมีมุมมองที่ดีต่อการลงทุนในประเทศไทยเช่นกันด้วย 4 ปัจจัย คือ 1.ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนที่แน่นแฟ้น รวมถึงความใกล้เคียงของวัฒนธรรมที่สามารถเข้าใจกันได้ 2.ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานดี 3.มีทำเลที่ตั้งดี 4.การท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีความสนใจที่จะพัฒนาการลงทุนในกลุ่มของ ซีเอลเอ็มวีที เช่นกัน ดังนั้นประเทศไทยจึงมีโอกาสสูงที่จีนจะเลือกเป็นจุดเชื่อมการลงทุนกับกลุ่ม ซีเอลเอ็มวีที

            ทั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการในไทยที่จะทำธุรกิจการค้าร่วมกับจีน เพราะตอนนี้จีนมีการดำเนินการเชิงลึกและกว้างมากขึ้น และหากต้องการผู้ช่วยประสานงานติดต่อการค้าระหว่างไทย-จีน ก็สามารถติดต่อมาทาง บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 ทางเรามีบริการติดต่อจัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าผลิตภัณฑ์สินค้าจากประเทศจีนนำส่งถึงคุณที่ประเทศไทย

 

แหล่งอ้างอิง

บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ตัวแทนเอกชนร่วมสัมมนา “ไทย-จีน” ไม่หวั่นสหรัฐตัดสิทธิ GSP, วันที่ 28 ตุลาคม 2019. จาก https://businesstoday.co/corporate/28/10/2019/corporate-marketing-thailand-china-gsp/

สำนักข่าวไทย, สัมมนา 7 ทศวรรษจีนใหม่, วันที่ 28 ตุลาคม 2019. จาก https://tna.mcot.net/view/Fv43T84

NEW 18, “จุรินทร์”พร้อมเรียนรู้ประสบการณ์จีนแก้ปัญหาความยากจน, วันที่ 28 ตุลาคม 2019. จาก https://www.newtv.co.th/news/43607

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้