ความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ไทย-จีน

Last updated: 9 พ.ย. 2562  |  1197 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ไทย-จีน

ความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ไทย-จีน

            เป็นโครงการที่ได้ความร่วมของทั้ง 2 ประเทศระหว่างไทย – จีน ในการพัฒนาด้านระบบการขนส่งคมนาคม เพื่อส่งเสริมเศษรฐกิจร่วมกัน โดยฝ่ายไทยมีหน้าที่ดูแลรับภาระในด้านการลงทุนโครงการทั้งหมด ส่วนในฝ่ายจีนจะรับผิดชอบในด้านการออกแบบรายละเอียดงานโยธา คุมการก่อสร้าง ออกแบบและจัดการระบบรถไฟความเร็วสูง ระบบอาณัติสัญญา และระบบควบคุมการเดินรถ

            โดยเส้นทางของรถไฟความเร็วสูงจะพาดผ่าน 6 สถานีของประเทศไทย ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา ระยะทางโดยประมาณแล้ว 253 กิโลเมตร มีวงเงินทั้งสิ้น 179,413 ล้านบาท ส่วนในด้านของระบบเทคโนโลยีจะใช้ของทางประเทศจีน ที่สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. โดยใช้เวลาในการเดินทางจากกรุงเทพฯ – นครราชสีมาเพียง 1 ชั่วโมง 30 นาที ค่าโดยสารต่อเที่ยวอยู่ 535 บาท และในอนาคตข้างหน้าทางรัฐบาลมาโครงการทำเฟสที่ 2 เพิ่มเส้นทางจากนครราชสีมา – หนองคาย เพื่อเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงจีน – ลาว ในวงเงิน 233,481 ล้านบาท

            ได้รับความร่วมมือจาก 3 บริษัทรับเหมาก่อสร้างงานโยธาและติดตั้งระบบรางรายใหญ่อย่าง บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บมจ.ช.การช้าง และบจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น ซึ่งโครงการทั้งหมด การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แบ่งออกเป็น 14 สัญญาด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันกำลังสร้าง 2 สัญญา เป็นงานถมคันดินช่วงแรก 3.5 กม. จากสถานีกลางดง – ปางอโศก มีกรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบ คาดว่าจะเสร็จภายในเดือน มีนาคม 2563 และทำการเปิดหน้าดินก่อสร้างจากสีคิ้ว – กุดจิก เป็นระยะทาง 11 กม. บจ. ซีวิล เอ็นจิเนียริ่งก่อสร้าง เป็นผู้รับผิดชอบซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน ตุลาคม 2563

            แต่อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟความเร็วสูงยังติดปัญหากันอยู่ในเรื่องของสัญญา 2.3 ว่าด้วยเรื่องงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร และปัญหาสกุลเงินที่ใช้ในการกู้สร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงในครั้งนี้ ว่าจะเป็นสกุลเงินบาท หรือดอลลาร์สหรัฐ โดยเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมาทางฝั่งของรัฐบาลไทยได้ทำเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียในการกู้เงินทั้ง 2 สกุลให้แก่ทางการจีน

            ซึ่งในประเด็นข้อถกเถียงกันในครั้งนี้ทางการจีนมองว่า ควรให้ได้ข้อสรุปในชั้นคณะกรรมการร่วมรถไฟระหว่างไทย-จีนหรือ เจซี (จอนท์ คอมมิทที) ก่อนนำมาหารือระดับผู้นำ จะประชุมครั้งที่ 28 ในเดือน พฤศจิกายนนี้ รวมถึง 2 สัญญาก่อนหน้านี้ที่ยังไม่ลงตัวในการหารือได้แก่ สัญญาจ้างออกแบบกับควบคุมงาน จะใช้สกุลเงินบาทชำระกับจีน ส่วนสัญญาจ้างเดินรถและวางระบบ ก็เจรจาในรูปสกุลเงินบาท แต่จีนต้องการให้จ่ายเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นหัวข้อเจรจาเพิ่ม หากเจรจาลงตัว จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติและเซ็นสัญญาต่อไป

            หากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยเมื่อไหร่ ก็จะช่วยเพิ่มมูลค้าทางการตลาด ทั้งในด้านการลงทุนของผู้ประกอบการ และด้านการคมนาคมข่นส่งสินค้าและมวลชนอีกด้วย เป็นการดีหากคุณเริ่มศึกษาหาช่องทางการลงทุนกับสินค้าและผลิตภัณฑ์จากประเทศจีนที่ทั้งราคาถูกและคุณภาพดีนำมาขายในประเทศไทย และถ้าต้องการผู้ช่วยในเรื่องของการจัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าผลิตภัณฑ์สินค้าจัดส่งถึงคุณในประเทศไทยก็สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009

 

แหล่งอ้างอิง

ประชาชาติธุรกิจ, ไฮสปีดสายอีสาน-เจ้าสัว ซี.พี. เชื่อมอู่ตะเภา-เวียงจันทน์-คุนหมิง, วันที่ 1 พฤศจิกายน 2019. จาก https://www.prachachat.net/property/news-386296

โพสต์ทูเดย์, ไทยเตรียมถกคณะกรรมการรถไฟไทย-จีน เร่งสรุปเงื่อนไขสัญญาเร็วที่สุด, วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562. จาก https://www.posttoday.com/economy/news/605568

ประชาชาติธุรกิจ, ไทย-จีนเดินหน้าไฮสปีดอีสาน เร่งสรุป”แหล่งเงินกู้”ซื้อระบบ5หมื่นล้าน, วันที่ 7 พฤศจิกายน 2019. จาก https://www.prachachat.net/property/news-388449

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้