การจัดอันของประเทศไทย และการพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้น

Last updated: 16 พ.ย. 2562  |  977 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การจัดอันของประเทศไทย และการพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้น

การจัดอันของประเทศไทย และการพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้น

            เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม จัดอันดับประเทศที่มีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลกประจำปี 2019 พบว่าประเทศไทยจัดอยู่ลำดับที่ 40 จากทั้งหมด 141 ประเทศทั่วโลก โดยมีค่าดัชนีความสามารถทางการแข่งขันอยู่ที่ 68.1 คะแนน ถึงแม้ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2018 แต่ว่าประเทศไทยตกลงมาจากเดิมถึง 2 ลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าการแข่งขันแต่ละประเทศทั่วโลกมีการพัฒนาที่สูงขึ้นจากปีก่อน โดย 3 อับดับแรกที่สูงที่สุดในโลกได้แก่ สิงคโปร์ 84.8 คะแนน สหรัฐอเมริกา 83.7 คะแนน และฮ่องกง 83.1 คะแนน

            ในส่วนของภูมิภาคเอเชียตะวันออก และแปซิฟิกประเทศไทยติดอยู่ในอันดับที่ 10 โดย 3 อันดับแรกเป็นของ สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น  ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าคะแนนในอันดับต้น ๆ ห่างจากของประเทศไทยค่อนข้างสูง โดยเกณฑ์การให้คะแนนในครั้งนี้วัดด้วยกัน 4 มิติ ได้แก่

1.       ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ไทยได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 273 คะแนน

2.       ด้านทรัพยากรมนุษย์ ไทยได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 151 คะแนน

3.       ด้านตลาด ไทยได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 277 คะแนน

4.       ด้านระบบนิเวศของนวัตกรรม ไทยได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 116 คะแนน

            คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ได้ทำการวิเคราะห์ตัวชี้วัดทั้งหมด พบว่า หากมีการเร่งพัฒนาในเรื่องลดการทุจริต ปรับปรุงคุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาทักษะของคนในประเทศ และมีนโยบายที่ช่วยลดช่องว่างในการแข่งขันของตลาดในประเทศ จะช่วยยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันได้

            ทั้งนี้ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ผลจากการสำรวจความสามารถทางการแข่งขันระดับโลกที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเร่งทำการศึกษาแนวทางการเตรียมแรงงานภาคอุตสาหกรรม เน้นไปที่ด้านการผลิตแรงงาน และความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรม โดยจะมีอุตสาหกรรมสำคัญ 15 กลุ่ม เช่น เหล็ก ผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ที่ประสิทธิภาพแรงงานขยายตัวน้อยกว่า 2.5% ต่ำกว่าเกณฑ์ชี้วัด ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ปี 2561 – 2580 จึงต้องเตรียมแรงงานให้มีความสอดรับกับการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมยุคใหม่ เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ โดยพัฒนาทักษะและความรู้แรงงาน ให้สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

            ในส่วนด้านกระทรวงคมนาคม ได้มีการประชุมและเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ ให้เร็วขึ้น โดยจากเดิมใช้ระยะเวลาทั้งหมด 6 ปี ให้เหลือเพียง 4 ปีเท่านั้นคือ ตั้งแต่ 2563 – 2566 เพื่อให้ทันกับความต้องการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบราง อีกทั้งยังต้องมีการเตรียมแผนระยะยาวการซ่อมบำรุง การพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมการลงทุนด้านระบบราง เพื่อรองรับความต้องการของภาครัฐ โดยในสิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาบุคคลากรทางด้านระบบรางโดยต้องวางแผนร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลิตบุคลากร รวมทั้งพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบรางฯ ต่อไปในอนาคต

            ประเทศไทยเริ่มมีการเร่งพัฒนาในส่วนต่าง ๆ ให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เหล่านักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในไทยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้หากคุณสนใจในการติดต่อค้าขายกับประเทศจีน สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 ทางเรามีบริการจัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากประเทศจีนจัดส่งถึงมือคุณทั่วประเทศไทย

 

แหล่งอ้างอิง

BLT Bangkok, ไทยรั้งอันดับ 40 ความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ขยับลงมา 2 อันดับจากปี 2018, วันที่ 9 ตุลาคม 2019. จาก https://www.bltbangkok.com/News/ความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก-ไทยอันดับ40-TheGlobalCompetitivenessIndex402019-WorldEconomicForum

ไทยรัฐ ออนไลน์, “สุริยะ” ยกระดับแรงงานไทย พัฒนาศักยภาพทั้งระบบรับอุตสาหกรรมยุคใหม่, วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562. จาก https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1703965

บ้านเมือง, คมนาคม มอบขร.ทำแผนระบบรางของไทย, วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562. จาก https://www.banmuang.co.th/news/economy/170030

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้