แนวโน้มเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย

Last updated: 18 พ.ย. 2562  |  1004 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แนวโน้มเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย

แนวโน้มเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย

            หลายปัจจัยจากทั้วโลกส่งผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้น และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีน ที่ขึ้นภาษีตอบโต้กันอย่างต่อเนื่องนับจากต้นปี ปัญหาเศรษฐกิจการเมืองภายใน ปัญหาเชิงโครงสร้างของประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ปัญหาเหล่านี้ยากที่จะประเมินผลกระทบได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าทางไอเอ็มเอฟได้มีการปรับลดอัตรายดอกเบี้ยลงแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเป็นเพียงแค่การพยุงเศรษฐกิจโลกไว้แค่เพียงระยะสั้น ๆ

            และถ้าหากในปี 2020 นี้สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังไม่มีข้อตกลงยุติก็ยังคงส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจากไอเอ็มเอฟมองว่าในปี 2020 จะมีเพียงแค่ประเทศกำลังพัฒนาที่อ่อนแอเป็นหลักเท่านั้นที่เศรษฐกิจจะมีการฟื้นตัวขึ้น แต่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐและจีนกลับมีค่าการเติบโตที่ลดน้อยลง ถึงแม้ว่าในปีหน้าจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯก็ตาม แต่ก็ยังมีทีท่าว่าสหรัฐฯต้องการดึงจีนออกจากห่วงโซ่อุปทานของโลก ซึ่งหากทำได้สำเสร็จจริงโลกอาจต้องมีห่วงโซ่อุปทานแยกเป็น 2 ส่วน คือ จีนกับเอเชีย และทวีปอเมริกา ซึ่งระหว่างการปรับตัวไปสู่โครงสร้างใหม่ที่ว่านี้ โลกเสี่ยงที่จะเข้าสู่สถานะถดถอยในปี 2020

            อีกทั้งในส่วนของการปรับลดดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน จะสร้างปัญหาสะสมในภาคการเงิน จนทำให้มีจุดเปราะบาง และกลายเป็นความเสี่ยงในอนาคตได้ โดยประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ

1.       ภาระหนี้ที่จะเพิ่มขึ้นในภาคของธุรกิจ ไอเอ็มเอฟประเมินว่าหนี้ที่อาจมีปัญหาจะมีสูงถึง 19 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021 มูลค่าเกือบเท่ากับจีดีพีของสหรัฐ

2.       การถือสินทรัพย์เสี่ยงและสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำของนักลงทุนสถาบันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวสูงเกินมูลค่าที่ควรจะเป็น และหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น อาจมีการขายสินทรัพย์ดังกล่าว จนทำให้เกิดการผันผวนของตลาดการเงิน

3.       การสร้างหนี้โดยการกู้ยืมเงินจากประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากมีดอกเบี้ยที่ต่ำ ประเทศเหล่านั้นจำเป็นต้องดึงเงินทุนเข้ามาในประเทศจนกลายเป็นพิษร้ายต่อเศรษฐกิจของตนเองเกิดเป็นฟองสบู่ขึ้น

            ในส่วนของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจลงไปแล้วในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ได้มีมติเอกฉันท์ที่จะคงดอกเบี้ยเอาไว้ที่ 1.5% นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประเมินการขยายตัวของจีดีพีในปี 2020 อยู่ที่ 3.3% เพิ่มขึ้นจากเดิม 2.8% ในปีนี้ และบัญชีดุลเดินสะพัดในปี 2020 ก็ยังคงเกินดุลเพิ่มขึ้นเป็น 30,400 ล้านเหรียญ ส่งผลทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

            นอกจากนี้ได้ทำการสำรวจคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจจากซีอีโอของไทยจำนวน 58 รายได้ผลออกมาเป็นที่น่าสนใจอยู่ว่า ซีอีโอส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว หรือถดถอย แต่ยังมองว่าธุรกิจของตัวนั้นสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นได้อีก 0 – 10% และมีแผนการรับมือกับเศรษฐกิจชะลอตัวลง โดย 40% บอกว่าจะเจาะตลาดใหม่ทั้งในและนอกประเทศ และอีก 23.6% บอกว่าจะแตกไลน์ธุรกิจเพื่อกระจายความเสี่ยง

            สิ่งหนึ่งที่เห็นตรงกันคือ ในปีหน้าเศรษฐกิจจะมีการแข่งขันกันมากขึ้น หลายบริษัทอาจมีการตัดราคากันทำให้ต้องหันมาพยายามลดต้นทุนการผลิตซึ่งสิ่งนี้ บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด สามารถช่วยคุณได้ เรามีบริการจัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าผลิตภัณฑ์สินค้าที่ทั้งคุณภาพดีและราคาประหยัดจัดส่งถึงคุณทั่วประเทศไทย เพียงคุณติดต่อมาที่ https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009

 

แหล่งอ้างอิง

ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์, เศรษฐกิจในปีหน้า และความเสี่ยงของภาคการเงิน, วันที่ 15 พฤศจิกายน 2019. จาก https://www.prachachat.net/finance/news-391664

กรุงเทพธุรกิจ, เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวปีหน้า?, วันที่ 16 พฤศจิกายน 2562. จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/854210

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้