Last updated: 1 พ.ย. 2562 | 796 จำนวนผู้เข้าชม |
เครื่องหมายทางการค้า
หลาย ๆ คนอาจเกิดความสับสน และมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมายของ ลิขสิทธิ์ และ เครื่องหมายการค้า ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้มีความหมายโดยนัยเพื่อการคุ้มทรัพย์สินทางปัญญาเหมือนกันทั้งคู่ แต่อะไรคือความแตกต่างกันของ 2 อย่าง แล้วอะไรคือความหมายของ เครื่องหมายการค้า รวมถึงโทษทางกฎหมายสำหรับผู้กระทำความผิด
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าลิขสิทธิ์คุ้มครองถึงงานสร้างสรรค์เกือบทุกชิ้น เว้นแต่ชื่อของสินค้า ชื่อบริการ คำโฆษณาหรือสโลแกนที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งในส่วนนี้จึงทำให้เกิดความแตกต่างกันระหว่าง ลิขสิทธิ์ กับ เครื่องหมายทางการค้า ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ได้ระบุไว้ว่าคุ้มครอง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าและบริการในทุกชนิด โดยเครื่องหมายการค้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
- เครื่องหมายการค้า (เทรด มาร์ค) เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้านั้น ๆ เพื่อระบุถึงความแตกต่างจากสินค้าในรูปแบบเดียวกันของบุคคลอื่น ๆ เช่น มาม่า โค๊ก หรือแป๊ปซี่ เป็นต้น
- เครื่องหมายบริการ (เซอร์วิค มาร์ค) เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับบริการต่าง ๆ เพื่อระบุถึงความแตกต่างจากบริการของบุคคลอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น เครื่องหมายของธนาคาร เครื่องหมายของสายการบิน หรือเครื่องหมายของโรมแรม เป็นต้น .
- เครื่องหมายรับรอง (เชอทิฟิเคชั่น มาร์ค) เป็นเครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายนั้น ให้เพื่อรับรองต่อสินค้า หรือบริการอื่น ๆ ถึงคุณภาพที่ได้รับมาตรฐาน เช่น เครื่องหมายชวนชิม หรือเครื่องหมาย อย. เป็นต้น
- เครื่องหมายร่วม (โคลเลคทีฟ มาร์ค) เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น
โดยอายุการคุ้มครองของเครื่องหมายการค้าจะอยู่ได้ถึง 10 นับตั้งแต่วันที่ทำการจดทะเบียบ และสามารถต่ออายุได้เรื่อย ๆ อีกครั้งละ 10 ปี (เป็นอีกข้อแตกต่างกันระหว่างลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า) หากพบผู้กระทำความผิดแอบอ้าง หรือปลอมแปรงเครื่องหมายทางการค้าเพื่อทำการเชิงพาณิชย์ ผู้นั้นจะมีโทษทางอาญาในมาตรา 108 และ/หรือมาตรา 109 โทษจำคุกไม่เกินสี่ปี ปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าหากเครื่องหมายที่ทำการปลอมแปรง หรือลักลอบใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นจำพวกสินค้าแบรนด์ต่าง ๆ เช่น รองเท้าแบรนด์ดัง หรือกระเป๋าต่าง ๆ ผู้นั้นจะมีความผิดทั้งในส่วนของเครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์อีกด้วย
ดังนั้นด้วยความห่วงใยจาก ไทยฮัวโฟร์ยู จึงอยากให้คุณลูกค้าที่ใช้บริการที่ต้องการนำสินค้าลิขสิทธิ์ หรือมีเครื่องหมายการค้า เข้ามาขายในประเทศอย่างสบายควรทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าของแบรนด์ หรือเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการเสียงก่อน หลังจากนั้นถ้าต้องการผู้ช่วยในด้านการจัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าสินค้าจากจีนไม่ว่าจะเป็นสินค้าใด ๆ ก็ตาม สามารถติดต่อสอบถามและใช้บริการได้ที่ บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จากัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 ทางเรามีพนักงานค่อยให้บริการทุกวัน จ. – ส. เวลาตั้งแต่ 8.00 น. – 17.00 น. ที่พร้อมช่วยเหลือคุณอย่างมีมาตรฐานในราคาเป็นกันเอง
แหล่งอ้างอิง
IDG Thailand, ข้อแตกต่างระหว่าง “เครื่องหมายการค้า” และ “ลิขสิทธิ์”, วันที่ ... จาก https://idgthailand.com/trademark-vs-copyright/
กรมทรัพย์สินทางปัญญา, เครื่องหมายการค้า, วันที่ 3 สิงหาคม 2559. จาก http://www.ipthailand.go.th/th/component/zoo/item/เครื่องหมายการค้า.html
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534, วันที่ 28 ตุลาคม 2534. จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A447/%A447-20-9999-update.pdf
25 พ.ย. 2562
25 พ.ย. 2562
28 ต.ค. 2563