Last updated: 2 พ.ย. 2562 | 713 จำนวนผู้เข้าชม |
ข้อปฏิบัติในการนำของเหลวขึ้นเครื่องบิน
การขนส่งมวลชน และการคมนาคมต่าง ๆ ในปัจจุบันมีการพัฒนาไปไกลมากกว่าสมัยก่อน เชื่อว่าประชากรชาวไทยกว่าร้อยละ 80 ต้องเคยใช้บริการขนส่งทางอากาศมาแล้ว ไม่ว่าจะนั่งเครื่องบินไปยังจังหวัดต่าง ๆ หรือแม้แต่นั่งไปยังต่างประเทศ แต่ปัญหาที่เราพบกันบ่อย ๆ ของเหล่าผู้โดยสารมือใหม่มักประสบอยู่เรื่อย ๆ ก็คือการห้ามนำของเหลวติดตัวขึ้นเครื่องเกินกว่าจำนวนที่กำหนด ปัญหานี้ทำให้เหล่านักเดินทางจำนวนไม่น้อยที่ต้องยอมโหลดสัมภาระเข้าใต้เครื่อง หรือแม้แต่ตัดใจทิ้งน้ำหอมสุดที่รักไปเพื่อผ่านจุดตรวจสัมภาระ
หลายคนเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียง หรือมีสัมภาระติดตัวมาน้อยก็มักเลือกที่จะนำสัมภาระติดตัวขึ้นเครื่องไปด้วยกัน มากกว่าที่ต้องเสียค่าบริการโหลดสัมภาระเข้าใต้เครื่อง แต่ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้นักเดินทางมือใหม่ต้องตัดใจทิ้งโลชั่น และน้ำหอมตัวโปรดไว้บริเวณจุดตัวสัมภาระมาไม่น้อยแล้ว
ตามประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์การตรวจค้นของเหลว เจล สเปรย์ ที่จะนำขึ้นบนห้องโดยสารอากาศยาน หรือนำไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะ พ.ศ. 2562 ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2562 ได้นิยาม คำว่าของเหลว เจล สเปรย์ (Liquids, Aerosols ang Gel; LAGs)ว่าเป็นของเหลวในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบส่วนมากเป็นน้ำ เครื่องสำอางค์ หรือแม้แต่วัตถุหรือสารที่มีส่วนผสมทั้งของแข็งและของเหลว การที่จะนำสิ่งเหล่านี้ติดตัวขึ้นเครื่องไปได้ต้องบรรจุในภาชนะที่มีปริมาณไม่เกิน 100 ml (ดูตามปริมาณที่ติดไว้ข้างขวดเท่านั้น) แล้วเก็บไว้ในถุงซิปล็อคใสขนาด 40 ตารางเซนติเมตรปิดสนิท (มีแจกหน้าจุดเช็คอิน) แต่ใช่ว่าคุณจะสามารถนำขึ้นไปเท่าไหร่ก็ได้ เพราะว่าทางสนามบินมีกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า 1 คนสามารถพกติดตัวขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 1 ถุง และต้องมีปริมาณรวมกันไม่เกิน 1,000 ml เท่านั้น
แต่มีของเหลวบางชนิดที่ทางสนามบินจะอนุญาตให้คุณนำขึ้นเครื่องได้เกิน 100 ml ต่อชิ้น
1. อาหารสำหรับเด็กทารก ในกรณีคุณแม่ลูกอ่อนที่ต้องเดินทางกับลูกของคุณ ไม่ต้องห่วงว่าทางสนามบินจะใจร้ายไม่ให้คุณนำนมของทารกขึ้นเครื่อง ทางสนามบินอนุญาตให้คุณสามารถนำติดตัวไปได้ในปริมาณเท่าที่จำเป็นกับลูกของคุณตลอดการเดินทาง
2. ยาประจำตัว หรืออาหารเสริมที่จำเป็น ก่อนขึ้นเครื่องทุกครั้งถ้าคุณรู้ตัวว่า จำเป็นต้องพกยาติดตัว อยู่เสมอ คุณต้องไม่ลืมที่จะขอใบรับรองจากแพทย์ถึงความจำเป็นที่ต้องพกยาตัวนั้น และที่สำคัญตัวยาต้องติดฉลากระบุเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันตรงจุดตรวจก่อนขึ้นเครื่อง
3. หากคุณจำเป็นต้องทิ้งครีม หรือน้ำหอมของคุณไปตรงจุดตรวจสัมภาระ คุณสามารถหาซื้อได้ในเขตปลอดอากร (Duty Free Shop) และของเหลวที่คุณซื้อภายในเขตนั้นคุณสามารถพกติดตัวขึ้นเครื่องได้ เพียงแค่คุณต้องเก็บหลักฐานการซื้อไว้ และบรรจุภัณฑ์ต้องไม่มีร่องรอยของการเปิดเด็ดขาด
หากคุณไม่อยากให้เกิดโศกนาฏกรรมทิ้งครีมสุดที่รักของคุณไป ก็ควรเตรียมความพร้อมทุกครั้ง ก่อนขึ้นเครื่อง ตัดแบ่งครีมใส่ในขวดเล็ก ๆ ขนาดไม่เกิน 100 ml หากคุณยังไม่มีก็สามารถเข้าไปดูตามร้านค้าต่าง ๆ หรือลองเข้าดูสินค้าที่เว็บไซต์ของจีน ในนั้นจะมีให้คุณเลือกสินค้าหลากหลายแบบทั้งตัวการ์ตูน น่ารัก ๆ แก้วสวยหรู หรือพลาสติกคงทนก็มีให้เลือกซื้อแถมราคาก็ไม่แพงมาก แล้วถ้ายิ่งซื้อเยอะราคาต่อชิ้นก็จะยิ่งถูกลง เหมาะแก่การซื้อเป็นกลุ่มแก๊ง หรือนำมาขายเพื่อทำกำไรในไทย ถ้าหากคุณเจอร้านที่อยากจะซื้อ แต่ไม่รู้วิธีการติดต่อก็สามารถให้เราช่วยได้ เพียงติดต่อมาทางที่เรา https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 ทางเรามีบริการติดต่อซื้อขายสินค้า จัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าสินค้าจากจีนให้ขึ้นง่ายยิ่งขึ้น
แหล่งอ้างอิง
The Bangkok Insight, ไขทุกข้อสงสัย! นำ ‘ของเหลว’ ขึ้นเครื่องบินต้องทำยังไงกันแน่, วันที่ 16 มิถุนายน 2562. จาก https://www.thebangkokinsight.com/162028/
Airports of Thailand PLC., มาตรการเรื่องของเหลวและการตรวจค้น, วันที่ .... จาก https://www.airportthai.co.th/th/มาตรการเรื่องของเหลวแล/
28 ต.ค. 2563
25 พ.ย. 2562
25 พ.ย. 2562