มุมมองเศรษฐกิจของปี 2020 ในช่วง 3 เดือน

Last updated: 4 พ.ย. 2562  |  380 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มุมมองเศรษฐกิจของปี 2020 ในช่วง 3 เดือน

มุมมองเศรษฐกิจของปี 2020 ในช่วง 3 เดือน

            จากบทคิดเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกในปี 2020 ที่ไม่น่าจะเข้าสู่ภาวะวิกฤตหรือถดถอย แต่ก็จะไม่โตมาก เพราะเนื่องจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ

1.       ความรุนแรงของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง และอาจส่งผลไปถึงการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่การผลิต จากประเทศที่มีการผลิตสูงกลับกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการผลิตต่ำลง

2.       ดอกเบี้ยที่ต่ำลงทำให้สถาบันการเงินทั่วโลกต้องประสบปัญหา

3.       ความเสี่ยงจากด้านอื่น ๆ เช่น นโยบายของรัฐที่กดดันภาคธุรกิจ รวมถึงความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์จะมีมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การวางแผนจัดการด้านธุรกิจในอนาคตยากลำบากขึ้น

            ต่อมาในเดือนกันยายน ผลจากการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจากผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ทั้งหมด 100 คน มีจำนวน 85 คน ที่มีมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกตรงกันว่า ความถดถอยทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นอีกครั้งภายในช่วงปีที่กำลังจะถึงนี้ และยังคาดการณ์เกี่ยวกับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในปลายปีนี้จะจบลงที่ 4.1% และจะลดลงเหลือ 2.8% ในปี 2020 ตามด้วย 2.5% ในปี 2021

            ซึ่งในปลายเดือนตุลาคม 2019 มองว่าเศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเป็นผลมาจาก 1) เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ปลายวัฎจักรของการเติบโต และ 2) สงครามการค้าของสหรัฐฯ และจีนที่ไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงง่าย ๆ และอาจลุกลามกลายเป็นสงครามค่าเงิน และสงครามเทคโนโลยีได้ ซึ่งผลส่งทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ และผู้บริโภคตกต่ำลงจนอาจส่งผลไปถึงปี 2020

            ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ และสภาวะแรงกดดันของสงครามการค้าส่งผลอย่างมากกับประเทศที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าอย่างประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ และรวมถึงประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทำให้ภาคการส่งออกลดลงส่งผลทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจของไทยจะลดลงอยู่ในระดับ 2.8% หลังจากในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 ขยายตัวได้เพียง 2.6% และยังเป็นผลมาจากการที่ค้าเงินบาทแข็งตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว และรายได้จากภาคท่องเที่ยวลดลง

            ล่าสุด ไอเอ็มเอฟ คาดการณ์เศรษฐกิจของไทยในปี 2020 ว่าจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 3% ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์การเติบโตจากสถาบันการเงินประเทศไทย อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าจะเติบโต 3.3% ธนาคารทหารไทย 3.3% ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 3.5% ธนาคารไทยพาณิชย์ 2.8% ธนาคารกรุงไทย 3.2% และธนาคารกสิกรไทย 2.5-3%

            และเมื่อมองกลับไปยังเศรษฐกิจโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2020 มีอยู่ 2 สิ่งที่อาจทำให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวขึ้นมาได้คือ

1.       หาก โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทบทวนมาตรการภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน เพราะเนื่องจากการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลทำให้ภาคเอกชนหลายแห่งมีความยากลำบากในการหาแหล่งสินค้าประเทศอื่นมาทดแทนสินค้าของประเทศจีนให้ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เอสซีบีเอส ประเมินว่า หากประธานาธิบดีให้ความสำคัญกับการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ เศรษฐกิจโลกจะมีการฟื้นตัวได้เกินไตรมาสที่ 1/2020

2.       ประเทศเกิดใหม่และประเทศที่กำลังพัฒนาอย่าง จีน อินเดีย และกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นความหวังที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจโลกส่งผลให้อัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูงกว่า 4%

            ทั้งนี้ผลจากสภาวะสงครามการค้า และค่าเงินบาทที่แข็งตัวส่งผลเสียต่อธุรกิจส่งออกสินค้าเป็นอย่างมาก แต่ในมุมกลับกันการบริโภคภายในประเทศของไทยที่ยังคงขยายตัวได้ดี อีกทั้งความอ่อนแอของเศรษฐกิจที่ชัดเจนส่งผลให้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.25% จึงอาจเป็นผลดีต่อธุรกิจ หรือผู้ประกอบการที่สนใจนำเข้าสินค้า และถ้าหากว่าคุณต้องการผู้ช่วยในด้านการประสานงานจัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์จากประเทศจีน ก็สามารถติดต่อมาทาง บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 ทางเรามีบริการที่เป็นมาตรฐาน และถูกต้องตามกฎหมาย

 

แหล่งอ้างอิง

กรุงเทพธุรกิจ, เศรษฐกิจโลก 2020: ไม่แตก ไม่ตาย ไม่โต, วันที่ 7 สิงหาคม 2562. จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647920

Propholic, เตรียมรับมือกับปี 2020 อาจเกิดเศรษฐกิจถดถอยในอเมริกา (อีกแล้ว) แต่รอบนี้อสังหาฯ ไม่ใช่ตัวปัญหา, วันที่ 2 กันยายน 2019. จาก https://propholic.com/prop-globe/เตรียมรับมือกับปี-2020-อาจเ/

The Standard Stand Up For The People, วิกฤตเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นจริงไหม แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2020 เป็นอย่างไร, วันที่ 24 ตุลาคม 2019. จาก https://thestandard.co/podcast/thesecretsauce-executive-espresso7/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้