อะไรคือ EXW FOB และ CIF ???

Last updated: 6 พ.ย. 2562  |  6839 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อะไรคือ EXW FOB และ CIF ???

อะไรคือ EXW FOB และ CIF ???

เรียกได้ว่าปัจจุบันการค้าขายกับต่างประเทศถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการติดต่อซื้อขาย การชำระค่าสินค้า รวมถึงการขนส่งสินค้าถึงมือผู้ซื้อ แต่เชื่อว่าเหล่านักช้อปมือใหม่มักจะเกิดความมึนงงขึ้นเมื่อสินค้ามาถึงมือกลับต้องจ่ายค่าบริการอื่น ๆ เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าสินค้า ไทยฮัวโฟร์ยู จึงมาอธิบายถึงสาเหตุส่วนหนึ่งว่าทำไมถึงมีค่าบริการอย่างอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากราคาสินค้า

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าในการซื้อขายสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจะมีตัว อินคอเทอม หรือที่เรียกกันว่าเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งสิ่งนี้เป็นหนึ่งตัวแปรที่ทำให้สินค้าของคุณมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งเจ้าตัวเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าก็มีรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ในครั้งนี้จะยกมาเฉพาะตัวที่สำคัญ 3 รูปแบบคือ

1.      EXW (เอ็กซ์ เวิร์คส) เป็นรูปแบบที่ผู้ขายจะรับผิดชอบสินค้าแค่ในส่วนการซื้อขายหน้าร้านเท่านั้น กล่าวคือคุณจะจ่ายเงินให้ผู้ขายเพียงแค่ราคาของสินค้าเท่านั้น แต่ในการติดต่อขนสินค้าออกนอกประเทศและการนำเข้ามายังประเทศของคุณนั้น คุณต้องเป็นคนจัดการเองทั้งหมด ซึ่งรวมถึงจะต้องเสียค่าดำเนินเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเองเช่นกัน ซึ่งวิธีการนี้ค่อนข้างที่จะวุ่นวายอยู่พอสมควร

 

2.      FOB (ฟรี ออนโบรด เวสเสล) เป็นการพบกันคนละครึ่งทาง กล่าวคือผู้ขายจะรับผิดชอบสินค้าของคุณตั้งแต่ออกจากโรงงานผลิตไปจนถึงขนส่งที่คุณเตรียมไว้ ในรูปแบบนี้ทางผู้ขายจะดำเนินเรื่องในฝั่งประเทศของผู้ขายเองทุกอย่าง แต่เมื่อสินค้าเดินทางออกนอกประเทศเมื่อไหร่นั้นเท่ากับว่าอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อแล้ว ตัวผู้ซื้อต้องติดต่อดำเนินเรื่องที่เหลือภายในประเทศตนเองทุกอย่าง รวมถึงเสียค่าขนส่งมายังประเทศ และค่ารับประกันสินค้าเองอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวก็ได้รับความนิยมอย่างมากในการติดต่อซื้อขายกันระหว่างประเทศ

 

3.       CIF (คอส์ท อินชูเรทค์ แอน เฟรท) วิธีการนี้ผู้ขายจะรับผิดชอบสินค้าของคุณทุกอย่าง และจ่ายค่าเสียหายต่าง ๆ เบ็ดเสร็จในฝั่งเดียว คุณมีหน้าที่แค่สั่งสินค้า ชำระเงิน แล้วรอรับสินค้าได้เลย โดยไม่ต้องดำเนินเรื่องติดต่อใด ๆ ทั้งสิ้น และราคาของสินค้าที่คุณจ่ายไปนั้นจะมีการรวมค่าบริการไปหมดภายในราคาสินค้านั้นแล้ว

เมื่อสินค้าเข้ามายังขนส่งที่ไทยแล้ว มักจะถูกแปลราคาสินค้าให้อยู่ในรูปแบบของ CIF เพื่อให้ง่ายต่อการคิดค่าภาษีนำเข้าของทางกรมศุลกากร (อ่านวิธีการแปลค่าได้ในเว็บไซต์ของกรมศุลกากร) และหากนักช้อปคนไหนสนใจที่จะติดต่อการซื้อขายกับประเทศจีนก็สามารถติดต่อมาทางเรา บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 ทางเราจะมีพนักงานคอยให้ความช่วยเหลือในการติดต่อ จัดหา สั่งซื้อ แล้วนำส่งสินค้าจากจีนมาถึงมือคุณ พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายสินค้าของคุณให้อย่างชัดเจน ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นเกิดขึ้นหลักจากที่ตกลงกันอย่างแน่นอน

 

แหล่งอ้างอิง

สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์, เรื่องที่ต้องระวังในการตั้งราคาสินค้าส่งออก, วันที่ .... จาก http://onestopservice.ditp.go.th/download/file/1f1cdd4b.pdf

Fastship, Incoterms คืออะไร? ทำความรู้จักคำศัพท์ Logistic ระหว่างประเทศที่คุณควรรู้, วันที่ 16 พฤศจิกายน 2561. จาก https://fastship.co/incoterms-for-e-commerce/

Exptblog, เข้าใจ FOB, EXW, CIF และ CFR(CNF) ได้ใน 5 นาที, วันที่ 11 พฤษภาคม 2015. จาก http://www.exptblog.com/fob-exw-cnf-cfr-cif/

กรมศุลกากร, การคำนวณราคานำเข้า Incoterm จากราคา FOB เป็น ราคา CIF มีวิธีการคำนวณอย่างไร, วันที่ 9 เมษายน 2562. จาก http://www.customs.go.th/cont_strc_faq.php?lang=th&top_menu=menu_homepage&left_menu=menu_center_004&ini_menu=&current_id=142328324146505f4b464b46464b4d

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้