Last updated: 7 พ.ย. 2562 | 429 จำนวนผู้เข้าชม |
ลงนาม 3 ฉบับ ข้อตกลงร่วมกัน ไทย – จีน เพื่อความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายรัฐมนตรี และคณะของประเทศไทย ได้เข้าร่วมหารือกับ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน และคณะจากประเทศจีน ในเรื่องการทำข้อตกลงร่วมกัน และเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 3 ฉบับ เพื่อความสัมพันธ์อันดีและพัฒนาประเทศชาติร่วมกัน
ในส่วนของข้อตกลงฉบับ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมทางวิทยาศาสตร์วิชาการและนวัตกรรม ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ของประเทศไทย กับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการร่วมมือกันในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัฒกรรม 11 สาขา และครอบคลุมถึง 5 รูปแบบ ที่ประกอบไปด้วย
ในการนี้เป็นเพียงการต่ออายุข้อตกลงร่วมกันจากของเดิมที่หมดอายุลงเมื่อปี 2561 ไทยและจีนทั้ง 2 ต่างมีการแลกเปลี่ยนนวัฒกรรม และองค์ความรู้ร่วมกันอยู่แล้ว ในการนี้จะเป็นการช่วยพัฒนากำลังคน พัฒนาองค์ความรู้ และพัฒนานวัตกรรมของประเทศ โดยอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานระดับนานาชาติของประเทศทั้ง 2
และนอกจากนั้นหนังสือข้อตกลงในฉบับ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข่าวและข้อมูลข่าวสาร ระหว่างกรมประชาสัมพันธ์ กับ สำนักข่าวซินหัวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงนามโดย พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และนายหลู่ย เจี้ยน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และบันทึกความเข้าใจระหว่างบริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) กับศูนย์ความร่วมมือทางนวัตกรรมแห่งสถาบันบันฑิต ลงนามโดยนายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ ดร.เจียง เปียว ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมและความร่วมมือ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (กรุงเทพ)
จากนั้นผู้นำของทั้ง 2 ประเทศได้หารือร่วมกันในประเด็นของเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนสถานการณ์ในภูมิภาคและในโลก ได้มีความคิดเห็นร่วมกันที่สำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมความเชื่อมโยงของทั้ง 2 ประเทศให้เพิ่มมากขึ้น สาธารณรัฐประชาชนจีนยินที่จะถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติที่ดีในเรื่องการขจัดความยากจนให้ไทย พร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและเมืองอัจฉริยะ เพื่อสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM 2.5 และผลักดันโครงการอีอีซี รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าข้าว อีคอมเมิร์ซ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
จีนพร้อมที่จะเป็นแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025 เห็นพ้องที่จะเชื่อมระหว่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ของไทยกับกรอบความร่วมมือเขตอ่าวกวางตุ้ง-มาเก๊า-ฮ่องกง หรือ จีบีเอ ของจีนผ่านโครงการความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ยังเคารพในบทบาทการเป็นศูนย์กลางอาเซียนของไทย เพื่อพัฒนาภูมิภาคเอเซียตะวันออกให้มีศักยภาพในการพัฒนามากที่สุด และมีความพร้อมในการสร้างเขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศเปรียบเสมือนลงเรือลำเดียวกัน มีการช่วยเหลือและเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนในชาติ นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีของไทยได้ฝากให้ช่วยดูแลผู้ประกอบการไทยในจีนอีกด้วย หากคุณสนใจที่จะริเริ่มหรือมีแผนการลงทุนรวมกับผู้ประกอบการจีนก็สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 ทางเรามีบริการติดต่อประสานงานจัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าผลิตภัณฑ์จากจีน นำส่งถึงคุณที่ประเทศไทย
แหล่งอ้างอิง
MGR online, นายกฯ ไทย-จีนลงนาม 3 ฉบับ ย้ำสัมพันธ์ฉันพี่น้อง “บิ๊กตู่” ฝากสุภาษิต “มดน้อยบางครั้งก็ช่วยพญาราชสีห์ได้”, วันที่ 5 พฤศจิกายน 2562. จาก https://mgronline.com/politics/detail/9620000106135
MGR online, จับมือจีนดึงความรู้ระดับสูงวิทยาศาสตร์ 11 สาขา ประยุกต์ใช้กับไทย, วันที่ 5 พฤศจิกายน 2562. จาก https://mgronline.com/science/detail/9620000106232
Sanook, ไทย-จีน ลงนามบันทึกความเข้าใจ 3 ฉบับ เสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์-นวัตกรรม, วันที่ 5 พฤศจิกายน 2562. จาก https://www.sanook.com/news/7943442/
25 พ.ย. 2562
25 พ.ย. 2562
28 ต.ค. 2563