การพัฒนาระบบเศรษฐกิจในแถบทะเลจีนใต้

Last updated: 6 พ.ย. 2562  |  307 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การพัฒนาระบบเศรษฐกิจในแถบทะเลจีนใต้

การพัฒนาระบบเศรษฐกิจในแถบทะเลจีนใต้

            พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย ได้เชื้อเชิญนาย หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื่องในโอกาสเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 22 (10+1) ที่จัดขึ้น ณ ประเทศไทย ทั้งนี้ประเทศในกลุ่มอาเซียน กับสาธารณรัฐประชาชนจีนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และเป็นกำลังสำคัญด้านเศรษฐกิจต่อกัน โดยที่ประเทศจีนถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนการค้าใหญ่ที่สุดของกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี และในทางกลับกันกลุ่มประเทศอาเซียนก็กลายมาเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่เป็นอันดับ 2 ในปี 2019 เช่นกัน

            ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกัน มีการเจรจาการค้าเสรี เพิ่มโอกาสในด้านการทำธุรกิจ และในปีหน้าจะมีการร่วมมือกันพัฒนาระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมมือกันในการสื่อสารแบบ 5 จี มีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ข้อมูลขนาดใหญ่ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง และเมืองอัจฉริยะร่วมกันรับประโยชน์จากการนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            อีกทั้งยังมีการพัฒนาปรับปรุงเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนให้บรรลุการยกระดับสูงขึ้น กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าได้รับการปรับปรุงดีขึ้น กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเข้าถึงตลาดมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอบเขตความร่วมมือได้ขยายออกไปกว้างขึ้น นอกจากนี้ จีนและประเทศอาเซียนร่วมกันผลักดันการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(RCEP) ทุ่มเทกำลังในการก่อตั้งเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุด รวมกันสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ให้มีคุณภาพ ลดปัญหาเขตการค้าทะเลจีนใต้

            ซึ่งข้อตกลงในส่วนของทะเลจีนใต้ หรือ โคส ออฟ คอนดัคท์ อิน เดอะ เซาท์ ไซน่า ซี- ซีโอซี ได้บรรลุวาระที่หนึ่ง เสร็จอย่างรวดเร็วจากเดิมมีกำหนดการภายใน 3 ปี แต่สามารถบรรลุได้แค่ภายในหนึ่งปีเท่านั้น เป็นหลักฐานที่สามารถยื่นยันได้ว่า ข้อพิพาทกันระหว่างประเทศจีนกับบางประเทศในกลุ่มอาเซียนก็ไม่ใช่ปัญหาที่จะหยุดยั้งการพัฒนาด้านเศรษฐกิจร่วมกันได้ และได้มีการพิจารณาให้บรรลุในวาระที่สองของ แนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ต่อไป

            ในปีหน้าจะครบรอบการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทยจีนปีที่ 45 ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือเชิงลึกในทุกด้าน และการมาเยื่อนของนายรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน นาย หลี่ เค่อเฉียง ในครั้งนี้คาดการณ์ว่าจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือเชิงปฏิบัติการในด้านต่าง ๆ ระหว่างประเทศไทยและจีน ผลักดันความสัมพันธ์ไทย – จีน ยกระดับความร่วมมือในเอเชียตะวันออกให้สูงขึ้น ทั้งสองต่างมีการส่งเสริมดำเนินงานโครงการความร่วมมือและการเชื่อมโยงกันระหว่างข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กับแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0

            ตอนนี้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของจีนมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด การมาเยือนของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนจะช่วยให้สินค้าแบรนด์ท้องถิ่นของไทยส่งออกไปสู่ประเทศจีนและทั่วโลกได้มากขึ้น และสร้างเสริมความร่วมมือทางการค้าเสรีมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อผู้ประกอบการในไทยและจีนในการติดต่อการค้าร่วมกัน ทั้งนี้หากสนใจทำการค้ากับจีนก็สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด https://www.thaihua4u.net/ หรือโทร 083-0904009 ทางเรามีบริการติดต่อประสานงานจัดหา สั่งซื้อ และนำเข้าผลิตภัณฑ์สินค้าจากประเทศจีนนำส่งถึงคุณ

 

แหล่งอ้างอิง

MGR online, "หลี่ เค่อเฉียง" ถกอาเซียน หวังร่วมมือยกรับดับ ศก.รักษาสันติภาพ ดันไทย-จีนพี่น้องแน่นแฟ้นกว่าเดิม, วันที่ 3 พฤศจิกายน 2562. จาก https://mgronline.com/politics/detail/9620000105461

M Thai, ไทยต้อนรับนายกรัฐมนตรีจีน ผลักดันความสัมพันธ์ไทย-จีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น, วันที่ 4 พฤศจิกายน 2562. จาก https://news.mthai.com/general-news/772649.html

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้